1. ด้านการผลิตบัณฑิต

ประเด็นที่ท่านต้องการจัดการความรู้
3. ประเภทของงานที่บัณฑิตส่วนใหญ่ของสาขาวิชาทำ
4. แนวทางการจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลในยุค New Normal (โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนแบบ Online หรือ ผสมผสาน)
10. จำลองสถานการณ์ตามศาสตร์สาขาที่นักศึกษาเรียนเสมืองจริง เพื่อให้เกิดความเข้าใจบริบทและสามารถแก้ไขสถาณการ์จากปัญหาที่เกิดขึ้น
12. การผลิตบัณฑิตให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการในระดับชาติและนานาชาติ
13. 1. การจัดการเรียนรู้ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ให้เป็นผู้เรียนที่มีคุณลักษณะของบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 มีคุณธรรมจริยธรรมและอัตลักษณ์ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน

ประโยชน์ที่ส่งผลต่อนักศึกษา
3. ปรับปรุงหลักสูตร
4. ได้แนวทางการจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลนักศึกษาที่เหมาะสม สอดคล้องตามความต้องการและเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษามากขึ้น
10. นักศึกษาได้นำประสบการณ์ที่ได้จากการจำลองสถานการณ์ต่างๆ มาปรับใช้กับการเรียน ตลอดจนเป็นแนวทางในการทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษา
12. เพิ่มศักยภาพของนักศึกษาให้มีองค์ความรู้ก้าวหน้าในศาสตร์ของตนเอง สามารถคิดได้อย่างลุ่มลึกและสร้างสรรค์ ตลอดจนสามารถต่อยอดหรือประยุกต์ให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคมได้อย่างเท่าทัน
13. 1. นักศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีคุณลักษณะสอดคล้องกับคุณลักษณะของบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 มีคุณธรรมจริยธรรมและมีอัตลักษณะโดดเด่นตามศาสตร์สาขาวิชาของตนเองสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในสมัยปัจจุบัน

ประโยชน์ที่ส่งผลต่ออาจารย์
4. อาจารย์ผู้สอนได้มีแนวทางการจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลนักศึกษา วิธีการใหม่ๆ ที่เหมาะสม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ทำให้การจัดการเรียนการสอนในยุคใหม่นี้มีประสิทธิภาพ และประสบผลสำเร็จมากขึ้น และมีความพร้อมรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้
10. ผู้สอนได้เห็นขั้นตอน กระบวนการจัดการ ไหวพริบกับเหตุการณ์ต่างๆ ในแต่ละสายงานของนักศึกษา พร้อมนำไปปรับปรุงให้สอดคล้องกับรายวิชาในหลักสูตรต่อไป
12. อาจารย์สามารถนำผลงานการตีพิมพ์/รางวัล/ฯลฯ ตอบ TOR และได้พัฒนาความรู้ทางวิชาการควบคู่/ก้าวนำนักศึกษาตลอดเวลา
13. 1. ผู้สอนมีกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการอย่างหลากหลาย สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง เป็นบัณฑิตที่มีคุณลักษณะของบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 มีคุณธรรมจริยธรรม และอัตลักษณ์โดดเด่นตามศาสตร์สาขาวิชาของตนเอง

ประโยชน์ที่ส่งผลต่อคณะ/มหาวิทยาลัย
4. การดำเนินงานด้านการผลิตนักศึกษา ของคณะและมหาวิทยาลัย มีทิศทางที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ อาจารย์และบุคลากรมีแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ดี เป็นที่ยอมรับ ส่งผลดีต่อมหาวิทยาลัยอย่างเป็นรูปธรรม
12. หลักสูตร/คณะ/มหาวิทยาลัยได้รับการยอมรับและเป็นที่รู้จักในระดับชาติและระดับสากล เป็นการประกันคุณภาพหลักสูตร
13. 1. คณะ/มหาวิทยาลัยมีกระบวนการส่งเสริมและจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้สาขาวิชาแต่ละสาขาวิชาสามารถพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเชิงบูรณาการ สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ตามศักยภาพ มีคุณลักษณะของบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 มีคุณธรรมจริยธรรม และมีอัตลักษณ์สอดคล้องกับอัตลักษณ์บัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

ประโยชน์ที่ส่งผลต่อนโยบายที่เกี่ยวข้อง
4. เกิดการปรับปรุงนโยบายการผลิตบัณฑิตที่สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์มากขึ้น
12. การนำความรู้ทางวิชาการไปต่อยอด/พัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม นักศึกษามีความผูกพันและสำนึกรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม
13. 1. การผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน และแผนการพัฒนาประเทศระยะ 20 ปีของรัฐบาล

2. ด้านการวิจัย

ประเด็นที่ท่านต้องการจัดการความรู้
3. ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์การสอนตามสาขาวิชาที่ตนเองจบการศึกษามา
4. การคิดประเด็นวิจัยที่ทั้งตอบโจทย์ได้ทั้งเชิงพื้นที่และตามศาสตร์
การเขียนบทความวิชาการจากงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ
9. ทำอย่างไรจึงจะทำให้ผลงานของนักศึกษาได้เผยแพร่กว้างขวางและเป็นยอมรับ
10. ความมั่นคงในการศึกษาด้านภาษาศาสตร์และการบูรณาการจัดการเรียนการสอน เพื่อนำไปประกอบอาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีในสภาพสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลง
12. การวิจัยเพื่อการบูรณาการกับรายวิชาและการพัฒนาท้องถิ่น
13. 1. การบูรณาการองค์ความรู้การวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เชิงสหเชิงสหวิทยาการ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานวิจัยเฉพาะศาสตร์สาขาวิชา และการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
14. การทำงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์

ประโยชน์ที่ส่งผลต่อนักศึกษา
3. ได้พัฒนาการเรียนการสอน
4. เมื่ออาจารย์ได้มีการดำเนินการวิจัย ที่เกิดองค์ความรู้หรือได้แนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่เป็นประโยชน์กับรายวิชา นักศึกษาจะได้รับความรู้และประสบการณ์ที่ดีขึ้นจากอาจารย์ผู้สอน
9. ความรู้และประสบการณ์นอกจากชั้นเรียน
10. ผู้เรียนนำองค์ความรู้ที่มีมาปรับใช้ตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เกิดขึ้น
12. นักศึกษาได้เรียนรู้และบูรณาการความรู้/งานวิจัยสู่รายวิชาต่างๆในหลักสูตร สามารถเชื่อมโยงความรู้ระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
13. 1. นักศึกษามีองค์ความรู้ตามศาสตร์สาขาวิชาของตนเองสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในสมัยปัจจุบัน
14. ได้องค์ความรู้และเข้าใจในกระบวนการทำงานประเภทอื่น ๆ นำไปปรับใช้ในการเรียนการสอน

ประโยชน์ที่ส่งผลต่ออาจารย์
3. ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นและฝึกทักษะในการคิดวิเคราะห์
4. อาจารย์มีผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน การผลิตบัณฑิตที่ดีขึ้น มีผลงานที่มีคุณภาพและนำไปสู่การพัฒนาตำแหน่งวิชาการที่สูงขึ้น
9. คณะ มหาวิทยาลัย เป็นที่รู้จักมากขึ้น
10. ผู้สอนสามารถนำ Case study จากผู้เรียนแต่ละชั้นปีมาสังเคราะห์ถึงสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
12. อาจารย์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอนและการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
13. 1. อาจารย์มีองค์ความรู้เฉพาะศาสตร์และความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยเชิงบูรณาการ อันเกิดจากการวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
2 อาจารย์มีผลงานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่ กพอ.กำหนด
3. อาจารย์มีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ให้ประจักษ์ในวงวิชาการ


14. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณาจารย์ในสามาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ

ประโยชน์ที่ส่งผลต่อคณะ/มหาวิทยาลัย
4. มีอาจารย์ที่มีผลงานวิจัยและผลงานที่วิชาการที่มีคุณภาพ มีประโยชน์ และมี impact สูงขึ้น มีผลงานการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับนานาชาติมากขึ้น
9. สร้างนักศึกษาที่มีคุณภาพ
12. เพิ่มจำนวนงานวิจัยที่สามารถตอบโจทย์ชุมชน ท้องถิ่นได้
13. 1. มีจำนวนบุคลากรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการสูงขึ้นและเป็นศักยภาพของคณะและมหาวิทยาลัยในเชิงวิชาการ
2. มีผลงานทางวิชาการในรูปแบบองค์ความรู้ เพื่อนำไปสร้างสรรค์ ต่อยอด ในการพัฒนาชุมชนและสังคมต่อไป

14. ช่วยให้มหาวิทยาลัยได้เพิ่มศักยภาพให้บุคลากร ให้เกิดองค์ความรู้ที่หลากหลาย

ประโยชน์ที่ส่งผลต่อนโยบายที่เกี่ยวข้อง
4. มีผลงานสอดคล้องต่อนโยบายของมหาวิทยาลัย กระทรวงและประเทศ
12. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
13. 1. การพัฒนาชุมชนและสังคมไทยให้เข้มแข็ง ด้วยการสืบสานและต่อยอดองค์ความรู้ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
2. สอดคล้องกับแผนการพัฒนาประเทศระยะ 20 ปีของรัฐาบาล